การคิดก่อนลงมือทำ
เป็นเรื่องเข้าใจง่ายสำหรับ ในความคิดที่มีจินตนาการ แต่เมื่อนำไปปฏิบัติบางครั้งจะสำเร็จตามที่คิดไว้หรือไม่ มักเป็นเรื่องของความคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ แต่ถ้าต้องการคิดต่อไปเพื่อวันข้างหน้าตามที่ใจปราถนา นั่นแสดงว่าเริ่มมียุทธศาสตร์เกิดขึ้น แต่ความเป็นยุทธศาสตร์จะแหลมคมหรือไม่ต้องผ่านกระบวนการวิเคราะห์เพื่อสังเคราะห์ให้ได้ทางเลือกที่ดีที่สุด ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติตามจุดหมายที่วางไว้
การคิดเผื่อไปข้างหน้า
แนวคิดการบริหารจัดการแบบมียุทธศาสตร์นี้มักมีการขับเคลื่อนไปข้างหน้ายังวัตถุประสงค์ ซึ่งเป็นการคิดเชิงกลยุทธ์ ที่ต้องอาศัยความรู้สหศาสตร์ที่เกี่ยวข้องนำมาใช้ เพราะในทางการบริหารจัดการงาน แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือ งานที่เป็นเชิงเนื้อหาจะเกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎี หลักการและหน้าที่ กับงานที่เป็นกระบวนการ จะเป็นงานที่มีขั้นตอนการปฎิบัติ กิจกรรมและคู่มือการปฎิบัติงาน ดังนั้นผู้รับผิดชอบงานต้องมั่นใจว่าการดำเนินงานยังคงให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อให้เกิดประสิทธิผล สร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้าได้ ความมั่นใจเหล่านี้จะช่วยให้เกิดการคิดวิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลได้ด้วยตนเอง เพราะแต่ละคนสามารถที่จะคิดวิเคราะห์ได้แต่จะรอบคอบหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งและก็ไม่ใช่คำตอบที่ถูกต้องเสมอไปว่าคนหลายคนจะคิดได้รอบคอบกว่าคนๆเดียวที่เก่งและฉลาด บางคนทำงานไม่ชอบคิดวิเคราะห์ชอบที่จะทำตามแบบที่เคยมีหรือมีคนอื่นทำไว้ ไม่รู้ว่าการกระทำของตนมีหลักการของงานเป็นอย่างไรไม่เข้าใจจริงหรือไม่ ไม่มีคำตอบ
การเรียนรู้ในการวางแผน
ข้อมูลที่เป็นอดีตเป็นเพียงบทเรียนที่ช่วยให้คิดว่าถ้าจะทำให้ดีกว่าที่เป็นมา จะทำอย่างไร จึงกล่าวได้ว่า วิสัยทัศน์และพันธกิจ จะชี้แนะกลยุทธ์ และกลยุทธ์จะชี้แนะกลวิธีตามมาเป็นลำดับ ตัวอย่างการเรียนรู้จากที่ประชุม ถ้าในเวทีที่มีการถูกเถียงและแสดงความคิดเห็นบนเหตุและผล จากมติที่ประชุมอาจนำไปสู่การแก้ไขสิ่งที่เคยปฎิบัติ หรือได้ข้อคิดที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางาน ดังนั้นการประชุมจึงเป็นช่องทางการสื่อสารที่เป็นทางการช่องทางหนึ่ง การประชุมแบ่งออกเป็น 5 ประเภทใหญ่ได้แก่ การประชุมเพื่อสอนงานหรือฝึกอบรม เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร เพื่อกระตุ้นสร้างแรงจูงใจ เพื่อร่วมคิดสร้างสรรค์และเพื่อร่วมตัดสินใจ เป็นต้น
การเรียนรู้โดยการวิเคราะห์ความจริงความคิดการวิเคราะห์มีมานานแล้วที่มักจะอิงอยู่กับความสามารถทางสมองของแต่ละคนแต่ปัจจุบันมีเครื่องมือช่วยคิดเช่น ในตำราพิชัยสงครามของซุนหวู่ กำหนดหลักคิดในการวิเคราะห์ว่า รู้เรา รู้เขา รบร้อยครั้งมิแพ้พ่ายแต่ไม่ได้บอกว่าถ้าจะรู้เรา รู้เขาต้องทำอย่างไร ปัจจุบันจึงมีการแปลความว่า รู้เราคือ รู้จุดอ่อน จุดแข็งของตนเอง และควรให้ผู้อื่นเป็นคนบอกเพื่อสะท้อนจุดอ่อนจุดแข็งได้ดี ส่วนรู้เขาแปลความว่าเป็นการรู้ถึงเงื่อนไขที่เป็นอุปสรรคและสภาวะที่เป็นโอกาสแวดล้อมจากภายนอก
การเรียนรู้จากการประเมินผลแผนงาน
เป็นกระบวนการวัดผลโดยการเทียบกับมาตรฐานใดมาตรฐานหนึ่งที่ยอมรับกันบางครั้งจะมีความรู้สึกและ ค่านิยมเข้ามาผสมด้วยเราจึงเรียกว่าการวัดผลการดำเนินงาน ซึ่งมีการวัดความสำเร็จส่วนมาเป็นหน่วยนับและค่าเชิงปริมาณหรือสรุปเป็นคุณค่างานที่ต้องวัดผลลัพธ์ใน 4 ด้านได้แก่ ด้านการเงิน ด้านกระบวนการภายใน ด้านการเรียนรู้และการเติบโต ด้านลูกค้า เป็นต้นข้อมูลที่ได้จากการประเมินผลจะถูกนำไปเทียบกับค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้กระบวนการนี้สอดคล้องกับวงจรคุณภาพของเดมมิ่งPDCA (Plan Do Check Act) นั่นเอง
การเรียนรู้จากการรายงานผลการดำเนินงาน
ผลที่ได้จากการรายงานข้อมูลข่าวสารเพื่อให้เป็นความรู้หรือมีคุณค่าต่อการตัดสินใจ อาจเป็นค่าร้อยละ เป็นจำนวน เป็นสัดส่วนหรืออธิบายด้วยการแสดงผลในรูปของกราฟหรือแผนผังก็ได้
วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2550
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)